กลุ่มดาวบนท้องฟ้า

ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวทั้งหลาย ล้วนมีลักษณะคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา โดยปรากฏตัวขึ้นทางทิศตะวันออก ก่อนเคลื่อนที่ไปถึงจุดสูงสุดกลางท้องฟ้า ก่อนตกทางทิศตะวันตก เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองเช่นเดียวกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้ในหนึ่งปี แต่ละเดือนจะมีกลุ่มดาวที่แตกต่างกันปรากฏขึ้นราว 30 วัน โดยที่กลุ่มดาวที่ปรากฏขึ้นในแต่ละเดือนนี้ ถูกเรียกว่า “จักรราศี” (Zodiac) ซึ่งมนุษย์นำกลุ่มดาวจักรราศีนี้ มาเป็นเครื่องบ่งชี้ตำแหน่งและเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่า “สุริยะวิถี” (Ecliptic) ผ่านการเปรียบเทียบตำแหน่งกับกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลังและเส้นขอบฟ้า

การตั้งชื่อ
นอกจากชื่อของกลุ่มดาวแล้ว ดาวฤกษ์แต่ละดวงในกลุ่มดาวล้วนมีชื่อเรียกตามระบบการตั้งชื่อ คือ การใช้อักษรกรีกโบราณในการตั้งรหัสดวงดาวแต่ละดวงในกลุ่ม ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน โยฮันน์ เบเยอร์ (Johann Bayer) ก่อนที่จอห์น แฟลมสตีด (John Flamsteed) จะคิดค้นระบบตัวเลขเข้ามาใช้ โดยการอ้างอิงจากค่าไรต์แอสเซนชัน (Right ascension) ของดวงดาว ซึ่งต่อมาระบบตัวเลขนี้เป็นที่รู้จักในนาม “ระบบการตั้งชื่อดาวฤกษ์ของเฟลมสตีด” หรือ “ระบบตัวเลขเฟลมสตีด”
ปัจจุบันยังพบว่ามีกลุ่มดาว “ไม่เป็นทางการ” อีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการรับรอง แต่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น ดาวกระบวยใหญ่ (Big Dipper) ซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกกลุ่มดาวที่ไม่เป็นทางการนี้ว่า “ดาวเรียงเด่น” (Asterism) ซึ่งเป็นรูปแบบการเกาะกลุ่มขนาดเล็กของดาวฤกษ์ ผ่านการลากเส้นเชื่อมดาวชุดที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวแต่ละกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น